วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อารยธรรมอินเดีย

 อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
    • เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
    • เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
  • สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
  • ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว
  • ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย
  • ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ


เมืองฮารับปา

สุสานทัชมาฮาล

ตรีมูระติ เทพเจ้าของอินเดีย

แม่น้ำเนรัญชรา เมื่อยามแห้งแล้ง

อีกมุมมองหนึ่งของสุสานทัชมาฮาล

พระพุทธรูปแบบอมราวดี

พระพุทธรูปแบบคันธาระ

พระพุทธรูปแบบมถุรา

ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ
อารยธรรมอินเดีย
  • อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
    • เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน
    • ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮนโจดาโร และเมืองฮารับปา
  • สมัยพระเวท
    • เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้
    • ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และ ระบบวรรณะ 4
    • วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่
      • คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆกันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และ อาถรรพเวท
      • มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน(พระราม) กับชาวทราวิฑ (ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ
      • มหากาพย์มหาภารตยุทธ ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ)
      • คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม
  • สมัยพุทธกาล
    • เกิดศาสนาพุทธ และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ)
    • เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ วรรธมาน มหาวีระ
  • สมัยราชวงศ์เมารยะ
    • พระเจ้าจันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น
    • เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง
    • พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ
    • หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
  • สมัยราชวงศ์กุษาณะ
    • พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
    • ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
    • ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
  • สมัยราชวงศ์คุปตะ
    • พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
    • เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง ปรัชญา ศาสนา
  • สมัยจักรวรรดิโมกุล
    • พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม
    • เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
    • พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ
    • พระเจ้าซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง
  • สมัยอาณานิคมอังกฤษ
    • ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
    • เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย
    • ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
    • สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ
      • รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา
      • การศาล การศึกษา
      • ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)
  • สมัยเอกราช
    • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช
    • มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ
    • หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
    • แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถานตะวันตก)และบังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)
                                                                 ศิลปกรรมอินเดีย 
                ศิลปกรรมอินเดีย มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
      • ด้านสถาปัตยกรรม
        • ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
        • ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
        • สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
      • ด้านประติมากรรม เกี่ยวข้องกับศาสนา
        • พระพุทธรูปแบบคันธาระ
        • พระพุทธรูปแบบมถุรา
        • พระพุทธรูปแบบอมราวดี
        • ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
      • จิตรกรรม
        • สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
      • นาฏศิลป์
        • เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท
      • สังคีตศิลป์
        • ทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และกลอง
      การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
            อารยธรรมอินเดีย แพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชีย โดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหาร และได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
           ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญ และในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
           ภูมิภาคเอเชียกลาง อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อสร้างศาสนสถาน
                                    ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
    • อารยธรรมอินเดียโบราณ
      อารยธรรมอินเดียกำเนิดในบริเวณที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า อนุทวีป หรือเอเชียใต้ในปัจจุบัน เป็นอารยธรรมที่เกิดจากการหล่อหลอมและผสมผสานความเจริญของชนชาติต่างๆ ที่ได้เข้ามาครอบครองและตั้งถิ่นฐาน จนกลายเป็น อารยธรรมอินเดียที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาอารยะรรมในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ นับว่าเป็นรากฐานสำคัญของอารยะรรมตะวันออก
      1.สภาพภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมอารยธรรมอินเดีย
      ที่ตั้ง อินเดียมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ดินแดนทางตอนเหนือและตอนใต้ถูกแบ่งแยกจากกันด้วยที่ราบสูงเดคคาน เป็นผลให้ทั้งสองเขตมีความแตกต่างกันทั้งด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ การประกอบอาชีพ และการหล่อหลอมอารยธรรม
      ตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาหิมาลัยที่หนาวเย็นและสูงชันกั้นไม่ให้อินเดียติดต่อกับดินแดน อื่นได้สะดวก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีช่องแคบไคเบอร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือที่ติดต่อกับดินแดนนอื่นทางตะวัน ตกได้ เช่น เปอร์เซีย กรีก และโรมัน ดังนั้นบริเวณอินเดียตอนเหนือจึงรับและผสมผสานอารยธรรมที่เข้ามาทางช่องแคบ ไคเบอร์ ทั้งที่มาจากการติดต่อค้าขายและรุกรานของชาติอื่นๆ เช่น พวกอารยันและมุสลิม
      ตะวันตกและตะวันออก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา และแม่น้ำสาขาของแม่น้ำทั้งสองที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่กาประกอบ เกษตรกรรม โดยเฉพาะแม่น้ำคงคา ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยและนำความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในลุ่ม แม่น้ำ จึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชาวอินเดีย และเป็นบ่อเกิดของศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ในอารยธรรมอินเดีย เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ อนึ่ง ความอุดมสมบูรณ์ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ ทำให้ชนต่างชาติพยายามรุกรานและยึดครองอินเดียตลอดมา
      ตอนกลาง เป็นเขตที่ราบสูงเดคคานที่แห้งแล้งและทุรกันดาร เพาะถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงซึ่งขวางกั้นการติดต่อระหว่างอินเดียเหนือและ อินเดียใต้ แต่ก็นับเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของอินเดีย เพราะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอินเดีย และยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้และแร่ธาตุต่างๆ
      ตอนใต้ ไม่สามารถติดต่อกับดินแดนทางตอนเหนือได้สะดวก แต่สามารถติดต่อกับดินแดนอื่นๆนอกประเทศได้ง่าย เนื่องจากมีที่ราบแคบๆ ยาวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียทั้ง 2 ฝั่ง ประชากรในแถบนี้มีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนอารยธรรมกับดินแดนอื่น เช่น อียิปต์ เมโสโปเตเมีย ลังกา และดินแดนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมของชาวอินเดียใต้จึงมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากชาวอินเดียทางตอนเหนือ
      ภูมิอากาศ อินเดียมีภูมิอากาศแห้งแล้งเพราะฝนตกน้อยประมาณปีละ 4 เดือน และมีอากาศร้อนจัด ปีใดฝนตกน้อยกว่าปกติ การเพาะปลูกจะไม่ได้ผลและเกิดความอดอยาก ในเขตตรงข้าม ปีใดที่ฝนตกมากเกินไปจะเกิดอุทกภัย พืชผลได้รับความเสียหาย อนึ่ง ปีที่มีอากาศร้อนจัดมากๆ เช่น อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไปมักจะเกิดภัยแล้ง พืชผลส่วนใหย่ไม่อาจต้านทานความแห้งแล้งได้เพราะอากาศขาดความชุ่มชื้น สภาพภูมิอากาศจึงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและความเชื่อของชาวอินเดียวึ่ง ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ดังเช่นการบูชาแม่น้ำคงคาว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำความชุ่มชื้นและ อุดมสมบูรณ์มาให้ อนึ่ง ลักษณะภูมิอากาศยังทำให้ชาวอินเดียมีความอดทนในการต่อสู้กับความยากลำบาก ด้วยวิธีการต่างๆ พร้อมกับการยอมรับชะตากรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
      2.การพัฒนาอารยธรรมอินเดียโบราณของกลุ่มต่างๆ
      ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ส่งเสริมให้ชนชาติต่างๆ ขยายอิทธิพลเข้ามาครอบครองอินเดีย เป็นผลให้เเกิดการผสมผสานและหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาปกครองอินเดีย ชนชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมอินเดียโบราณ ได้แก่ พวกดราวิเดียน หรือทราวิฑ (Dravidian) และอารยัน (Aryan)ดราวิเดียน อารยธรรมอินเดียโบราณเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำสินธุ (อยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน) เมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 4500 ปีมาแล้ว  เรียกกันทั่วไปว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus Civilization) จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่บริเวณเมืองโมเฮ นโจดาโร (Mohenjo Daro)    และเมืองอารัปปา (Harappa) ในเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ เชื่อกันว่าเป็นอารยธรรมของพวกดราวิเดียนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในเขตนี้ลักษณะเด่นของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ มีความเจริญในลักษณะสังคมเมือง มีการวางผังเมืองที่เป็นระเบียบ บ้านเรือน แต่ละหลังมีห้องน้ำ และมีท่อระบายน้ำเชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำของเมือง นอกจากนี้บ้านบางหลังยังก่อสร้างสูงถึง 3 ชั้น วัสดุก่อสร้างทำด้วยอิฐซึ่งมีคุณภาพดีและมีขนาดเท่ากันทุกก้อน เหล่านี้ล้วนแสดงถึงภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างของพวกดราวิเดียนในอดีตชาวลุ่มแม่น้ำสินธุยุคนี้ดำรงชีวิตด้วยการค้าและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม หลักฐานที่พบจากการขุดค้นแสดงว่าพวกเขามีการติดต่อค้าขายกับดินแดนเมโสโปเตเมียตั้งแต่ราว 2300 ปีก่อนคริสต์ศักราช สินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่าย ได้แก่ ผ้าฝ้าย เครื่องปั้นดินเผาเขียนลวดลาย เครื่องทองแดงและทองเหลือง และเครื่องประดับที่ทำด้วยทองและเงิน นอกจากนี้ พวกเขายังรู้จักประดิษฐ์อักษรของตนเอง และมีความเชื่อทางศาสนา โดยนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งของต่างๆอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเสื่อมสลายตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วมเมือง และโรคระบาด หรืออาจถูกรุกรานจากชนชาติอื่น (อารยัน) ที่มีอำนาจเหนือกว่าอารยัน อารยัน เป็นอินโด-ยูโรเปียนเผ่าหนึ่ง เป็นพวกนักรบและมีอาชีพเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ได้รุกรานเข้ามาทางตะวันตกเฉยงเหนือของอินเดียตั้งแต่ประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 3500 ปีมาแล้ว จากนั้นได้เข้าครอบครองลุ่มแม่น้ำสินธุและขยายเข้าไปในลุ่มแม่น้ำคงคา ทำให้ชาวพื้นเมืองเดิมหรือพวกดราวิเดียนต้องถอยลงไปทางตอนใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัทราส (Madras) หรือเมืองเชนไน (Chennai) ปัจจุบันหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงอารยธรรมอารยันยุคแรกหรือยุคพระเวทตอนต้น (ประมาณปี 1500-1000 ก่อนคริสต์ศักราช) คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นทั้งบทสวดสรรเสริญบูชาเทพเจ้า หลักปฏิบัติในพิธีกรรมทางศาสนาและหลักปรัชญาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมสำคัญอีก 2 เรื่องคือมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ และรามายณะ ซึ่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันต่างๆ ของอินเดียโบราณโดยเฉพาะด้านการปกครอง สังคม และศาสนา อนึ่ง ภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมเหล่านี้ คือ ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาของพวกอารยัน ดังนั้นภาษาสันสกฤตจึงแพร่หลายสืบทอดต่อมาถึงปัจจุบัน
      ในระยะแรก พวกอารยันมีการปกครองในลักษณะนครรัฐ แต่ละรัฐเป็นอิสระต่อกัน บางแห่งมีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ปกครองและบางแห่งมีกษัตริย์ปกครอง แต่เนื่องจากอารยันเป็นชนชั้นปกครองและเป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนจึงไม่ต้องการให้มีการผสมผสานทางเชื้อชาติกับชาวพื้นเมืองเดิมซึ่งแตกต่างจากตน พวกเขาได้กำหนดโครงสร้างของสังคมโดยจำแนกกลุ่มคนเป็น 4 วรรณะคือ วรรณะพราหมณ์ ซึ่งเป็นวรรณะสูงสุดผู้ประกอบพิธีกรรมและสืบทอดศาสนา รองลงมา คือ วรรณะกษัตริย์ เป็นชนชั้นปกครองหรือนักรบ วรรณะที่ 3 คือ วรณะแพศย์ เป็นสามัญชนทั่วไป และวรรณะศูทร ได้แก่ ชาวพื้นเมืองซึ่งทำหน้าที่รับใช้วรรณะอื่นๆ นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้มีการแต่งงานข้ามวรรณะ หากมีการฝ่าฝืน บุตรของผู้ที่แต่งงานข้ามวรรณะจะต้องเป็น พวกจัณฑาล ซึ่งมีสถานะต่ำที่สุด และไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในสังคมของวรณะอื่นๆ
      ศาสนาของพวกอารยันคือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นับถือเทพเจ้าสำคัญ 3 องค์คือ พระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจสูงสุด พระวิษณุหรือพระนารายณ์ซึ่งจะอวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์เพื่อดับทุกข์เข็ญ และพระพรหมผู้สร้างโลก พราหมณ์เป็นผู้ที่ติดต่อกับเทพเจ้าได้ด้วยการประกอบพิธีกรรมและร่ายบทสวดมนต์บูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท ดังนั้นจึงมีบทบาทสำคัญในสังคมอินเดีย อนึ่ง ศาสนายังสอนให้คนยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้ชาวอินเดียยอมรับชะตากรรมของตนในโลกปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการดำรงอยู่ในวรรณะที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เกิด แล้วมุ่งทำความดีเพื่อจะได้หลุดพ้นจากวัฏสารนับว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีอิทธิพลสำคัญต่อการหล่อลหอมความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวอินเดียมากหลังยุคพระเวท (ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือสมัยพุทธกาล) ได้เกิดอารยธรรมสำคัญขึ้นคือศาสนาพุทธและศาสนาเชน ชาวอินเดียบางส่วนได้หันไปเสื่อมใสศาสนาทั้งสอง ศาสนาพุทธกำเนิดในบริเวณที่เป็นประเทศเนปาลปัจจุบันเมื่อปี 543 ก่อนคริสต์ศักราช และเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (273-232 ก่อนคริสต์ศักราช) จากนั้นก็แพร่หลายในดินแดนอื่นๆ เช่น ศรีลังกา เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทยประมาณปี 413-322 ก่อนคริสต์ศักราช อินเดียถูกรุกรานจากชนต่างชาติคือ เปอร์เซียและกรีก ต่อมาพวกเขาได้สถาปนาจักรวรรดิของพวกอารยันครั้งแรกในสมัยราชวงศ์เมารยะ (322-185 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในช่วงคริสต์ศักราช กษัตริย์ของชาวอารยันแห่งราชวงศ์คุปตะ (ค.ศ.320-535) สามารถสถาปนาจักรวรรดิปกครองดินแดนของตนและพัฒนาความเจริญด้านต่างๆ ของอารยธรรมอินเดีย เป็นต้นว่า ศาสนา การศึกษา สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม กฎหมาย วิทยาการด้านการแพทย์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ฯลฯ อารยธรรมเหล่านี้ได้แพร่หลายเข้าไปในดินแดนอื่นๆ และกลายเป็นรากฐานของอารยธรรมในดินแดนนั้นๆ ด้วย เช่น อารยธรรมไทย เขมร ฯลฯหลังจากนั้น อินเดียก็ถูกพวกมุสลิมซึ่งเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือรุกรานและปกครองนานหลายร้อยปีจนกระทั่งสูญเสียอำนาจให้แก่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ว่าอินเดียถูกรุกรานและปกครองโดยชนชาติอื่นหลายกลุ่มนานหลายศตวรรษและทำให้อารยธรรมอินเดียมีลักษณะผสมผสานมากขึ้น แต่อารยธรรมสำคัญของพวกอารยันคือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และระบบวรรณะก็ยังคงเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของอารยธรรมอินเดียสืบเนื่องต่อมา
      อ้างอิง
             ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน.ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนา       พานิช จำกัด,2518.
                ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน.ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2518